เมนู

พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [5. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในขุททกวัตถุขันธกะ
สรงน้ำในที่ไม่สมควร ใช้มือทำด้วยไม้หอมถูกายสรงน้ำ
ใช้เชือกชุบจุรณศิลาสีเหมือนพลอยแดงถูกายสรงน้ำ
ทำบริกรรมให้แก่กันและกัน
ใช้ไม้บังเวียนจักเป็นฟันมังกรถูกายสรงน้ำ
ภิกษุเป็นหิด ภิกษุทุพพลภาพเพราะชรา
ทรงอนุญาตให้ใช้ฝ่ามือถูหลัง
พระฉัพพัคคีย์ใช้เครื่องประดับชนิดต่าง ๆ คือ เครื่องประดับหู
สร้อยสังวาล สร้อยคอ เครื่องประดับเอว วลัย สร้อยตาบ
เครื่องประดับข้อมือ แหวนสวมนิ้วมือ
พระฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว ใช้แปรงหวีผม
ใช้หวีหวีผม เสยผม ใช้น้ำมันผสมขี้ผึ้งเสยผม
ใช้น้ำมันผสมน้ำเสยผม ส่องเงาหน้าที่คันฉ่อง ในภาชนะใส่น้ำ
ภิกษุเป็นแผลที่หน้า ทรงอนุญาตให้ตรวจดูรอยแผลที่คันฉ่องหรือ
ที่ภาชนะใส่น้ำได้ พระฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิมหน้า
ย้อมตัว ย้อมหน้า ย้อมทั้งหน้าทั้งตัว ภิกษุอาพาธเป็นโรคตา
ทรงอนุญาตให้ทาหน้าได้ พระฉัพพัคคีย์ดูมหรสพ
สวดธรรมด้วยเสียงขับยาว ทรงอนุยาตให้สวดสรภัญญะ
พระฉัพพัคคีย์ใช้ผ้าขนสัตว์ พระฉัพพัคคีย์ฉันมะม่วง
สมาคมหนึ่งถวายชิ้นมะม่วง ทรงอนุญาตให้ผลไม้
ที่สมควรแก่สมณะ ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดเพราะไม่เจริญเมตตา
ภิกษุตัดองคชาตของตน เศรษฐีถวายบาตรไม้จันทน์
พระฉัพพัคคีย์ใช้บาตรชนิดต่าง ๆ ใช้เชิงรองบาตรชนิดต่าง ๆ
เช่นเชิงรองบาตรทอง ใช้เชิงรองบาตรสวยงาม
ภิกษุบางพวกเก็บบาตรไว้ทั้งที่ยังไม่แห้ง ทำให้บาตรเหม็นอับ
เอาบาตรผึ่งแดดทั้งที่ยังมีน้ำ บาตรมีกลิ่นเหม็น
ภิกษุบางพวกวางบาตรไว้ในที่ร้อน ผิวบาตรเสีย
วางบาตรในที่ไม่มีเชิงรอง วางบาตรไว้ที่ตั่งไม้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :81 }


พระวินัยปืฎก จูฬวรรค [5. ขุททกวัตถุ ขันธกะ] รวมเรื่องที่มีในขุททกวัตถุขันธกะ
วางบาตรไว้ที่ริมตั่งไม้ บาตรกลิ้งตกแตก
วางบาตรไว้ที่พื้นดิน ทรงอนุญาตหญ้ารอง ปลวกกัดหญ้า
ทรงอนุญาตท่อนผ้ารอง ทรงอนุญาตชั้นวาง
ทรงอนุญาตหม้อปากกว้างเก็บบาตร
ทรงอนุญาตถลกบาตร ทรงอนุญาตสายโยกด้ายถัก
ทรงห้ามแขวนบาตรไว้ที่เดือยข้างฝา ทรงห้ามเก็บบาตรไว้บนเตียง
บนตั่ง บนตัก บนกลด ภิกษุถือบาตรอยู่ในมือไม่พึงผลักประตู
ไม่พึงใช้กระโหลกน้ำเต้าแทนบาตร ไม่พึงใช้หม้อกระเบื้องแทนบาตร
ไม่พึงใช้กระโหลกผีแทนบาตร ไม่พึงใช้กระโถนแทนบาตร
ภิกษุรูปหนึ่งใช้มือฉีกผ้าเย็บจีวร มีดมีด้ามเกิดขึ้นแก่สงฆ์
ทรงห้ามใช้มีดด้ามทอง ภิกษุทั้งหลายใช้ขนไก่และไม้กลัดเย็บจีวร
ทรงอนุญาตกล่องเข็ม แป้งข้าวหมาก ผงขมิ้น ฝุ่นศิลา ขี้ผึ้ง
ผ้ามัดขี้ผึ้งเพื่อไม่ให้เข็มมีสนิมขึ้น
ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรโดยขึงกับหลักทำให้มุมจีวรเสีย
ทรงอนุญาตให้ผูกไม้สะดึง ทรงห้ามขึงไม้สะดึงในที่ไม่เรียบ
ทรงห้ามขึงไม้สะดึงที่พื้นดิน ขอบไม้สะดึงชำรุด ไม้สะดึงไม่พอ
ทรงอนุญาตให้ทำหมายระยะ ทรงอนุญาตเส้นบรรทัด
ภิกษุทั้งหลายไม่ล้างเท้าเหยียบไม้สะดึง เท้าเปียกเหยียบไม้สะดึง
สวมรองเท้าเหยียบไม้สะดึง ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวร
โดยใช้นิ้วมือรับเข็ม ทรงอนุญาตปลอกสวมนิ้วมือ
ทรงอนุญาตกล่องสำหรับเก็บเครื่องเย็บผ้า
ทรงอนุญาตถุงเก็บปลอกสวมนิ้วมือ
ทรงอนุญาตสายโยกด้ายถัก
ภิกษุทั้งหลายเย็บจีวรในที่แจ้ง โรงสะดึงมีพื้นที่ต่ำ
ดินที่ถมพังทะลาย ภิกษุทั้งหลายขึ้นลงลำบาก
ผงหญ้าตกเกลื่อนที่โรงสะดึง
ทรงอนุญาตให้ฉาบทั้งภายในภายนอก ทำให้มีสีขาว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 7 หน้า :82 }